สรรพสามิต แต่ง “เบนซ์” จีบเทสลา ร่วมวงมาตรการอีวี ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตได้ลงนามข้อตกลงตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า กับ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตรถเมอร์เซเดส เบนซ์ ได้รับสิทธิลดอากรศุลกากร และลดภาษีสรรพสามิตตามขนาดความจุของแบตเตอรี่ ตลอดจนได้รับเงินสนับสนุนส่วนลดจากภาครัฐหากจำหน่ายไม่เกินคันละ 2 ล้านบาทคำพูดจาก ล่นสล็อต pg

ส่วนราคารถยนต์ไฟฟ้าของเบนซ์ จะลดลงแค่ไหน หลังนี้ทางบริษัทจะมีการเสนอโครงสร้างรุ่นรถ ราคารถยนต์มาให้กรมพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการนำเข้ารถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า เข้ามาขายก่อนในปี 65-66 และจากนั้นจะต้องตั้งฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“จากการลงนามในครั้งนี้ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์และผู้นำเข้า เข้าร่วมมาตรการอีวีแล้ว 12 ราย แบ่งเป็น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ารถยนต์ 9 ราย และรถจักรยานยนต์ 3 ราย ที่สำคัญการที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งค่ายรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับโลกเข้าร่วม ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ในอนาคต”

ส่วนแผนการร่วมมือกับค่ายรถยนต์อื่นในอนาคตขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่เจรจาทาบทามกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลก อย่างเทสลา ที่เพิ่งเปิดตัวในไทย ให้มาเข้าร่วมมาตรการสนับสนุนอีวี เนื่องจากรถยนต์อีวีรุ่นล่าสุดที่ได้มีการประกาศราคาออกมา เข้าข่ายได้รับส่วนลดจากแพ็กเกจมาตรการ ขณะเดียวกัน ในปี 2566 จะมีการลงนามร่วมกับค่ายรถยนต์ฮอนด้าอีกรายด้วย 

นายเอกนิติ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้า ที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จ่ายเงินอุดหนุนให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์แล้ว จำนวน 540 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุน 81 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ ครั้งที่ 2 อีก 1,297 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุน 194 ล้านบาท โดยคาดว่า จะมียอดจองและยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ขอรับสิทธิตามมาตรการ ภายในสิ้นปี 65 รวมทั้งสิ้นกว่า 25,000 คัน

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการอุดหนุน ซึ่งกรมได้รับสนับสนุนจากงบกลางปี 65 มา 3,000 ล้านบาท ขณะนี้ยังเหลืออยู่กว่า 2.9 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะใช้ได้เพียงพอถึงปี 66 และหลังจากนั้น ก็จะขอตั้งงบประมาณสนับสนุนต่อไป นอกจากนี้ กรมยังอยู่ระหว่างศึกษามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ตามแนวนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม (อีเอสจี) ซึ่งจะพยายามให้ผู้ประกอบการผลิตตามเงื่อนไขแล้วได้ส่วนลดอัตราภาษี โดยปัจจุบันกรมเก็บที่ 8% แต่หากสามารถผลิตได้ตามเงื่อนไข อาจจะเสียลดลงระหว่าง 1-8% 

“หลังจากนี้ จะมีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการอีกครั้ง เนื่องจากประเมินว่า อีก 8 ปีข้างหน้า หากประเทศไทยไม่มีมาตรการบริการจัดการ จะมีปัญหาแบตเตอรี่จำนวนเยอะมากในประเทศ ฉะนั้น หากมีมาตรการเข้าไปช่วยสนับสนุนการรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ก็จะเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง”