โหวตนายก – รู้จัก "งดออกเสียง" สำคัญอย่างไรในการโหวตเลือกนายก

การประชุมรัฐสภาเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ผลปรากฎว่า ที่ประชุมรัฐสภา ไม่เห็นชอบให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาหรือ 376 เสียง

โดยมติที่ประชุมประกอบด้วย เห็นชอบ 311 เสียงไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199เสียง

อย่างไรก็ตาม หลายคนยังสงสัยว่า การออกเสียงลงคะแนนแต่ละประเภทมีความหมายว่าอะไร โดยเฉพาะคำว่า “ไม่เห็นชอบ” กับ “งดออกเสียง”

PPTV รวบรวมข้อมูลมานำเสนอ ดังนี้

งดออกเสียง หรือ งดเว้นการออกเสียง หมายถึง การที่สมาชิกสภาไม่ออกเสียงหรืองดการแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับญัตติหรือข้อปรึกษาที่ต้องมีการลงมติในที่ประชุมสภา

โดย “งดออกเสียง” ถือเป็นสิทธิของสมาชิกสภาที่สามารถทำได้ซึ่งไม่ถือว่าขัดข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 แล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ การงดเว้นการออกเสียงในการลงมติโดยเปิดเผยมีวิธีดำเนินการดังนี้คำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย

 โหวตนายก - รู้จัก "งดออกเสียง" สำคัญอย่างไรในการโหวตเลือกนายก

1.การลงมติโดยใช้วิธีการเรียกชื่อสมาชิกสภาเป็นรายบุคคล สมาชิกสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียง ต้องกล่าวคำว่า “งดเว้นการออกเสียงหรืองดออกเสียง” เมื่อเลขาธิการสภาเรียกชื่อตน

2.การลงมติโดยใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนน สมาชิกสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงจะต้องสอดบัตรและกดปุ่มงดเว้นการออกเสียง

3.การลงมติโดยใช้วิธีการยกมือพร้อมแสดงบัตรลงคะแนนซึ่งมีเฉพาะในวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงต้องยกมือพร้อมแสดงบัตรลงคะแนนสีขาว

ส่วนการลงมติเป็นการลับ วิธีการงดออกเสียง มีดังนี้

1.การลงมติโดยใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนน สมาชิกสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงจะต้องสอดบัตรและกดปุ่มงดเว้นการออกเสียง

2.การลงมติโดยใช้บัตรออกเสียงลงคะแนน หากเป็นการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเขียนเครื่องหมายกากบาท (x) ลงในช่องทำเครื่องหมายหน้าคำว่างดเว้นการออกเสียงหรืองดออกเสียง แต่หากเป็นการดำเนินการในวุฒิสภาหรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกรัฐสภาที่ประสงค์งดเว้นการออกเสียงต้องเขียนเครื่องหมายวงกลม (O) บนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้

คะแนนเสียงของสมาชิกสภาที่งดเว้นการออกเสียงจะไม่นำมานับรวมเป็นเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

จึงไม่มีผลในทางสนับสนุนหรือคัดค้านฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในกรณีที่ใช้เสียงข้างมากธรรมดาในการชี้ขาดญัตติหรือข้อปรึกษานั้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่ต้องใช้เสียงข้างมากเด็ดขาดในการชี้ขาด การงดเว้นการออกเสียงก็อาจมีผลเท่ากับเป็นการไม่เห็นด้วยกับญัตตินั้นได้ เช่น ในกรณีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 151 ซึ่งกำหนดให้มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การงดเว้นการออกเสียงจึงทำให้เกิดผลเท่ากับว่าไม่เห็นด้วยกับญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนั้นนั่นเอง

ที่มา : หอสมุดรัฐสภา